โครงการบริการวิชาการ
โครงการอบรมการทำผลิตภัณฑ์สบู่โดยประยุกต์ใช้วัสดุท้องถิ่น เพื่อเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
ณ เทศบาลบางกระทึก จังหวัดนครปฐม
กิจกรรม : อบรมการทำสบู่โดยประยุกต์ใช้วัสดุท้องถิ่นให้กับชุมชน
- 1. หลักการและเหตุผล
การเป็นผู้ประกอบการในกิจการใดกิจการหนึ่ง เป็นสิ่งที่ทุกคนมองว่าเป็นเรื่องยากต่อการเริ่มต้นเพราะไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นจากตรงจุดใดก่อน แล้วทำอย่างไรต่อไป จึงทำให้กิจการของตนเอง
ประสบความสำเร็จได้ในที่สุด ดังนั้นแนวทางเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการ จึงควรเริ่มจากการหาข้อมูลคือ
ข้อมูลตนเอง ข้อมูลลูกค้า สถานที่ทำเลในการจัดจำหน่าย หนึ่งในสิ่งสำคัญคือ ข้อมูลผลิตภัณฑ์
ซึ่งผู้ประกอบการควรจะต้องพิจารณาในการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ในวงจรของการสร้างสรรค์ การผลิต และการจำหน่ายสินค้าและบริการที่ใช้ทุนทางปัญญา เป็นปัจจัย
ในการผลิตพื้นฐาน รวมเรียกว่า อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industries) ซึ่งอยู่บนพื้นฐาน
ของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งในปัจจุบันสังคมได้กลายเป็นอุตสาหกรรม
ที่ต้องอยู่บนบรรทัดฐานของความรู้ ทั้งการผลิตที่จับต้องได้แบบเป็นรูปธรรมและการผลิตเชิงปัญญา
หรือเชิงศิลปะที่จับต้องไม่ได้ แต่มีเนื้อหาสาระที่สร้างสรรค์ จึงก่อเกิดเป็น “อุตสาหกรรมสร้างสรรค์” (Creative Industries) โดยมุ่งเน้นในการพัฒนาด้าน life style product ที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน
โดยให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าด้วยศิลปะและความสร้างสรรค์ ทำให้สินค้าสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการทั้งคนต่างชาติรวมไปถึงคนรุ่นใหม่มากขึ้น Lifestyle product เป็นผลิตภัณฑ์ Lifestyle (ไลฟ์สไตล์) ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและรสนิยมของผู้บริโภคของกลุ่มเป้าหมาย โดยมุ่งเน้นให้มีความสอดคล้อง
มีความเหมาะสมลงตัวกับ Lifestyle ของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นประเภทสินค้าหรือเรื่องบริการ ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจซื้อของกลุ่มเป้าหมายนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์ ผลิตภัณฑ์สปา ได้แก่ น้ำมันหอมระเหย เป็นต้น ซึ่งน้ำมันหอมระเหยสามารถใช้เป็นเป็นสารแต่งกลิ่นในอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยา ส่วนผสมเพื่อแต่งกลิ่นในสินค้าอุปโภค เช่น ขนมขบเคี้ยว ยาสีฟัน สบู่ แชมพู ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม รวมทั้งอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง (สบู่ โลชั่น น้ำหอม และสิ่งปรุงแต่งสำหรับผม) และของตกแต่งบ้าน
อย่างเทียนหอม ความต้องการใช้น้ำมันหอมระเหยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอันเป็นผลมาจากผู้บริโภคเริ่มหันมาสนใจสินค้าประเภทตกแต่งกลิ่นจากสารสกัดจากธรรมชาติมากขึ้นกว่าผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารตกแต่งกลิ่นสังเคราะห์ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยาและเครื่องสำอาง และมีการใช้น้ำมันหอมระเหยในหลากหลายผลิตภัณฑ์มากขึ้น และผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้น้ำมันหอมระเหยเป็นส่วนประกอบ มีแนวโน้มเติบโตอย่างน่าจับตามอง แม้ว่า
ในปัจจุบันไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันหอมระเหยและผลิตภัณฑ์ แต่การขยายตัวของการส่งออกน้ำมันหอมระเหยและผลิตภัณฑ์ของไทยในช่วงระยะ 5 ปีที่ผ่านมานี้อยู่ในเกณฑ์สูง เนื่องจากตลาดน้ำมันหอมระเหยและผลิตภัณฑ์เป็นตลาดเฉพาะ นับว่ายังเป็นโอกาสของไทยในการเจาะตลาดโลก และผลักดันให้น้ำมัน
หอมระเหยของไทยเป็นที่รู้จักและยอมรับมากยิ่งขึ้น สำหรับเทศบาลบางกระทึก เป็นเทศบาล
ขนาดกลาง พื้นที่ 12.847 ตารางกิโลเมตร หรือ 8,029.38 ไร่ มีหมู่บ้านตามกฎหมายปกครอง
ลักษณะท้องที่ จำนวน 8 หมู่บ้าน มีการแบ่งชุมชนออกเป็น 17 ชุมชน เปลี่ยนแปลงฐานะโดยจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบางกระทึกเป็นเทศบาลตำบลบางกระทึก ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2551 ทั้งนี้ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2551 มีตราสัญลักษณ์เป็นรูป“วัดคงคาราม
ดอนหวาย ตลาดริมน้ำดอนหวาย แม่น้ำท่าจีน เจดีย์ และพืช ผัก ผลไม้ต่างๆ” ซึ่งมีความหมายว่า
ในเขตเทศบาลตำบลบางกระทึก มีวัดดอนหวาย และมีตลาดริมน้ำดอนหวายซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยว
ที่เป็นจุดเด่นของตำบลบางกระทึก และมีชื่อเสียงระดับประเทศ มีอายุกว่า 100 ปีมาแล้ว โดยเทศบาลตั้งอยู่ห่างจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์เพียง 6.6 กิโลเมตร อีกทั้งยังมีวัตถุดิบในท้องถิ่น
ที่สามารถนำไปเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ได้ เช่น ส้มโอ มะม่วง อ้อย
วิทยาลัยผู้ประกอบการสร้างสรรค์นานาชาติรัตนโกสินทร์ แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ก่อตั้งโดยมติสภามหาวิทยาลัยฯ ในปี พ.ศ. 2560 โดยมีพันธกิจในการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติ การพัฒนาและเผยแพร่งานวิจัยและงานสร้างสรรค์ทางวิชาการ การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยบุคลากรและผู้บริหารของวิทยาลัยประกอบด้วยนักวิชาการ
ที่มีประสบการณ์การทำวิจัยภาคสนามทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพให้แก่สมาคมวิชาชีพ และองค์กรมหาชนมาแล้วอย่างต่อเนื่อง จึงขออาสาในการเป็นผู้ให้บริการทางวิชาการต่อชุมชมเทศบาลตำบลบางกระทึก
โดยการจัดโครงการอบรมการทำผลิตภัณฑ์สบู่โดยประยุกต์ใช้วัสดุท้องถิ่น เพื่อเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ณ เทศบาลตำบลบางกระทึก จังหวัดนครปฐม เพื่อให้ประชาชนในชุมชนสามารถนำไปประยุกต์ใช้และสร้างรายได้และอาชีพได้ต่อไป
- 2. วัตถุประสงค์
- เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ life style จากนวัตกรรม
และความคิดสร้างสรรค์ โดยให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีส่วนร่วมในการพัฒนา เพื่อยกระดับและมาตรฐานสินค้า
ในระยะยาวอย่างยั่งยืน - เพื่อพัฒนาผู้เข้าร่วมโครงการให้เป็นผู้ประกอบการในชุมชนเอง เป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพการกระจายรายได้และเสริมสร้างคุณภาพ ชีวิตที่ดีของคนภายในชุมชน
- เพื่อสร้างศักยภาพ ยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้สินค้าและผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นให้มีคุณค่าและสร้างมูลค่าเพิ่ม
- เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการให้สามารถนำความรู้จากการได้อบรม
และได้ฝึกปฏิบัติเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป